ผู้เขียน หัวข้อ: ผลสำรวจงานตานก๋วยสลากม.ราชภัฏลำปางเกินคาด  (อ่าน 5055 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

pr.lpru

  • บุคคลทั่วไป
ผลสำรวจงานตานก๋วยสลากม.ราชภัฏลำปางเกินคาด
หวังให้มีการจัดงานทุกๆปีอย่างต่อเนื่อง
   มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางเปิดเผยผลสำรวจการจัดงานประเพณีตานก๋วยสลากประจำปี ๒๕๕๓ ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรก โดยผู้ร่วมงานเห็นว่าเป็นกิจกรรมที่ดีและน่าจะมีการจัดงานอย่างต่อเนื่องทุกปี
   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดวงจันทร์  เดี่ยววิไล  ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ในฐานะประธานกรรมการฝ่ายประเมินผลงานประเพณีตานก๋วยสลาก มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ เปิดเผยว่า ตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางได้มอบหมายให้สถาบันวิจัยและพัฒนา  สำรวจความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมงานประเพณีตานก๋วยสลาก ปี พ.ศ. ๒๕๕๓  โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน ๔๐๐ ชุดจากผู้เข้าร่วมงานประเพณีตานก๋วยสลาก ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางเมื่อวันศุกร์ที่ ๕ พฤศจิกายน  ๒๕๕๓ ที่ผ่านมาซึ่งมีนักเรียนจากสถานศึกษาเครือข่ายของสภาวัฒนธรรมอำเภอเมือง นักศึกษา ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางและประชาชนในชุมชนต่าง ๆ รอบมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก
   ทั้งนี้จากผลการวิเคราะห์การสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมประเพณีตานก๋วยสลากประจำปี ๒๕๕๓  พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นต่อประเพณีตานก๋วยสลากในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =๔.๒๔)   เมื่อพิจารณา ตามประเด็นความคิดเห็นแล้วพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นว่า เป็นกิจกรรมสืบสานและแสดงถึงอัตลักษณ์ประเพณีไทยล้านนา มากที่สุด  มีค่าเฉลี่ย  ( =๔.๔๑)  รองลงมาคือ ความความคิดเห็นว่าเป็นกิจกรรมการแสดงด้านศิลปะและวัฒนธรรม  เป็นกิจกรรมส่งเสริมให้สำนึกถึงความเป็นไทยล้านนา และควรมีการจัดกิจกรรม อย่างต่อเนื่องทุกปี ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน       ( =๔.๓๐)  ส่วนความคิดเห็นต่อรูปแบบขั้นตอนพิธีการต่างๆมีความเหมาะสม เป็นความคิดเห็นที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ( =๔.๐๒) 
         นอกจากนี้ในส่วนของการสัมภาษณ์ของผู้เข้าร่วมงานนั้น พบว่า ผู้เข้าร่วมงานมีความประทับใจจัดริ้วขบวนของงานตานก๋วยสลากมากที่สุด เพราะมีริ้วขบวนที่สวยงามและผู้เข้าร่วมขบวนมีจำนวนมากมีความประทับใจของลีลาการตีกลองปู่จาและขบวนกลองยาว  และยังให้ความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า  เป็นกิจกรรมที่ดีงามช่วยอนุรักษ์ประเพณี และสืบสานศิลปวัฒนธรรมไทยล้านนา ทำให้มีความสามัคคีและพร้อมเพรียงกัน และควรจัดเป็นประเพณีทุกปี พร้อมทั่งยังเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดงานในปีต่อไปว่าเนื่องจากมีผู้เข้าร่วมงานจำนวนมาก ควรจัดสถานที่ให้เพียงพอกับจำนวนผู้เข้าร่วมงาน จัดกิจกรรมให้ตรงกับกำหนดการ เพิ่มกิจกรรมการแสดงที่หลากหลาย  และควรประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนรอบๆ มหาวิทยาลัยได้เข้าร่วมกิจกรรมให้มากขึ้นในปีต่อ ๆ ไป   และควรรณรงค์ให้มีการแต่งกายด้วยชุดพื้นเมืองสำหรับผู้ร่วมงานด้วย
         นอกจากนี้  ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา กล่าวตอนท้ายว่า การสำรวจครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากสถาบันวิจัยและพัฒนาสนับสนุนงบประมาณสำหรับจัดทำแบบสอบถามและการวิเคราะห์ข้อมูล  อาจารย์และนักศึกษา สาขาวิชาภาษาไทย (ค.บ.) คณะครุศาสตร์ และสาขาวิชาภาษาไทย (ศศ.บ.) มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง  ที่ให้ความอนุเคราะห์ ในการเก็บข้อมูลแบบสอบถามจากผู้เข้าร่วมงาน