คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สรุปการดำเนินงานการร่วมกิจกรรมในนิทรรศการนานาชาติด้านพลังงาน

 
สรุปผลการดำเนินงานการร่วมกิจกรรมในนิทรรศการนานาชาติด้านพลังงาน
“WorldGreen City & Eco – Product Exhibition 2012”ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตสะลวง-ขี้เหล็ก

           ระหว่างวันที่ 10 – 20 ธันวาคม 2555 ที่ผ่านมา สาขาวิชาเทคโนโลยีพลังงาน ร่วมกับ ศูนย์วิจัยและพัฒนาพลังงานสู่ชุมชน คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ได้เข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการกับโครงการนิทรรศการนานาชาติ ด้านพลังงาน “World Green City & Eco – Product Exhibition 2012” ณ บริเวณ Green City สถาบันพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตสะลวง – ขี้เหล็ก อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ อันประกอบด้วย

            1. นิทรรศการ Green Technology: Electrical Vehicle Market นำเสนอผลงาน Solar  Electric Vehicle ของชุมนุม Eco Car Club มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง ซึ่งในบูธนิทรรศการมีการจัดแสดงรถไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ Solar Car คันแรกที่คว้าแชมป์ประเทศไทยในรายการพัฒนายานยนต์เพื่อประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ECO CHALLENGE 2011 – 12 ของสมาคมวิศวกรรมยานยนต์ไทยและวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และโมเดลรถไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีการพัฒนารูปทรงและนวัตกรรมยานยนต์รุ่นใหม่ไปจัดแสดงนั้น จากผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าชมนิทรรศการ จำนวน 120คน ด้านความรู้ความเข้าใจ ผู้เข้าชมนิทรรศการมีความพึงพอใจในระดับมาก ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.43 หรือคิดเป็นร้อยละ 88.58 ด้านความพึงพอใจในการเข้าชมนิทรรศการของผู้เข้าชมนิทรรศการมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.41 หรือคิดเป็นร้อยละ 88.21 และความพึงพอใจในด้านการนำความรู้ไปใช้ ผู้เข้าชมนิทรรศการให้การประเมินความพึงพอใจในระดับมากเช่นกัน ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.48 หรือคิดเป็นร้อยละ 89.50

            2. นิทรรศการชุมชนพลังงาน: “ปงยางคกโมเดล” นำเสนอรูปแบบการจัดการเชิงบูรณาการของศูนย์วิจัยและพัฒนาพลังงานสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง โดยนำองค์ความรู้ที่ถ่ายทอดให้แก่กลุ่มเพาะเห็ด บ้านทุ่งบ่อแป้น      ต.ปงยางคก อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง ไปจัดแสดงให้ผู้เข้าร่วมชมนิทรรศการได้รับทราบถึงการทำงานและแก้ไขปัญหาร่วมกันระหว่างชุมชนกับหน่วยงาน และมีการนำผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเห็ดนางฟ้าและผลิตภัณฑ์แหล่งพลังงานในชุมชนจากการนำก้อนเพาะเห็ดที่ใช้แล้วมาทำเชื้อเพลิงอัดแท่งและถ่านอัดแท่ง ซึ่งเป็นผลงานที่ต่อยอดออกมาจากงานวิจัยในชุมชน นำมาจัดแสดงและจำหน่ายให้แก่ผู้เข้าชม และได้รับความสนใจในจากผู้เข้าชมเป็นจำนวนมาก โดยมีกลุ่มนักเรียน นักศึกษา เจ้าหน้าที่และบุคลากรจากหน่วยงานต่างๆ ให้ความสนใจและซักถามเป็นอย่างมากจากผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าชมนิทรรศการ จำนวน 125 คน ด้านความรู้ความเข้าใจ ผู้เข้าชมนิทรรศการมีความพึงพอใจในระดับมาก ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.44 หรือคิดเป็นร้อยละ 88.72 ด้านความพึงพอใจในการเข้าชมนิทรรศการของผู้เข้าชมนิทรรศการมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.42 หรือคิดเป็นร้อยละ 88.44 และความ       พึงพอใจในด้านการนำความรู้ไปใช้ ผู้เข้าชมนิทรรศการให้การประเมินความพึงพอใจในระดับมากเช่นกัน ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49 หรือคิดเป็นร้อยละ 89.84

            3. The 1st Thailand-Germany Bilateral Workshop (T-G Workshop) ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2555 ที่ผ่านมา ดร.รวิภา ยงประยูร ประธานกรรมการศูนย์วิจัยและพัฒนาพลังงานสู่ชุมชนฯ ได้เข้าร่วมสัมมนาในหัวข้อ “EmpowerEnergyEcological Management in Lampang Province” ในการสัมมนาครั้งนี้ได้มีการแลกเปลี่ยนทรรศนะคติ แนวความคิดกับผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหลาย ซึ่งถือเป็นมิติใหม่ของการทำงานร่วมกับชุมชนในเชิงพลังงานซึ่งได้รับความสนใจจากผู้เข้าสัมมนาทั้งระดับชาติและนานาชาติเป็นจำนวนมาก

            4. การประชุมสัมมนาวิชาการ พลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 5 (TREC-5) จัดประชุมเมื่อวันที่     18 – 20 ธันวาคม 2555 มีการเสวนาระหว่างชุมชนกับนักวิชาการของศูนย์วิจัยและพัฒนาพลังงานสู่ชุมชน ร่วมกับ สวทช. ภาคเหนือ และกลุ่มเพาะเห็ดจังหวัดลำปาง ในการเสวนาครั้งนี้ได้มีการพูดคุยถึงการทำงานในการลงพื้นที่แก้ไขปัญหาของชุมชน และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างชุมชนกับผู้เข้าร่วมเสวนา ซึ่งจะได้รับทราบถึงการทำงานในการลงพื้นที่และการแก้ไขปัญหาของชุมชนร่วมกันระหว่างชุมชนและหน่วยงานอย่างแท้จริง มีการนำเสนองานวิจัยของกลุ่มวัสดุศาสตร์เพื่อการพัฒนาพลังงาน 2     ในหัวข้อ “การบริหารจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ของกลุ่มอาชีพเพาะเห็ด ต.ปงยางคก อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง ด้วยเทคโนโลยีกระบวนการทางความร้อนในแปรรูปชีวมวล”และ “การออกแบบระบบควมคุม อัตราการไหลของก๊าซไฮโดรเจนและก๊าซออกซิเจนที่ส่งผลต่อการเกิดกระแสไฟฟ้าของเซลล์เชื้อเพลิงชนิดเมเบลนแลกเปลี่ยนโปรตอน ขนาด 1 ชั้นเซลล์โดยใช้ระบบความคุมแบบฟัซซี่ลองจิก”ซึ่งในการนำเสนองานวิจัยในครั้งนี้ได้มีการตีพิมพ์เป็นบทความและเผยแพร่ให้แก่ผู้เข้าร่วม และมีการนำเสนองานวิจัยของกลุ่มการนำเสนอโปสเตอร์ ในหัวข้อ “การประเมินวัฏจักรชีวิตของรถไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เปรียบเทียบกับรถไฟฟ้าจากพลังงานไฟฟ้า”, “การออกแบบและศึกษาประสิทธิภาพตู้อบแห้งเซรามิก โดยใช้พลังงานความร้อนร่วม” และ “The effects of the compressed fuel cells affect the performance of fuel cell proton exchange membrane” โดยการทำเสนองานวิจัยได้มีการตีพิมพ์เป็นรูปแบบของโปสเตอร์และเผยแพร่ให้แก่ผู้เข้าร่วมในงานครั้งนี้

[flagallery gid=11 skin=slider_gallery_demo name=Gallery]

แสดงความคิดเห็น

comments

GD Star Rating
loading...
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สรุปการดำเนินงานการร่วมกิจกรรมในนิทรรศการนานาชาติด้านพลังงาน , 10.0 out of 10 based on 1 rating

ผู้ดูแลระบบ

มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง 119 ม.9 ตำบลชมพู อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง 52100

ติดต่อ สอบถาม คำแนะนำ