คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ม.ราชภัฏลำปาง ร่วมลงนาม MOU ด้านวิชาการและการวิจัยระหว่างสถาบันอุดมภาคเหนือ ฯ
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ม.ราชภัฏลำปาง ร่วมลงนาม MOU ด้านวิชาการและการวิจัยระหว่างสถาบันอุดมภาคเหนือด้านพลังงานสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ครั้งที่ 3 ณ จังหวัดเชียงใหม่
เมื่อวันที่ 29 กรกฏาคม 2554 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ได้มอบหมายให้ อาจารย์ ดร.รวิภา ยงประยูร ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบัณฑิตศึกษา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง เป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยฯ ไปร่วมลงนามความร่วมมือ MOU ด้านวิชาการและการวิจัยระหว่างสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือด้านพลังงานสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ครั้งที่ 3 โดยมี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เป็นแม่งาน ณ ห้องอาหารพลับพลา คุ้มขันโตก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ โดยมี รศ.ดร.วัฒนพงศ์ รักษ์วิเชียร ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย และเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสภาวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง เป็นประธานในการลงนาม MOU ในครั้งนี้และในส่วนของมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ได้มอบให้ ดร.รวิภา ยงประยูร ผู้ช่วยคณบดีด้านบัณฑิตศึกษา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ไปร่วมลงนามแทนคณบดี ในพิธีนี้มีผู้แทนจากคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือ 7 แห่ง มาร่วมลงนาม สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
ข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ Graduate Scooh Of Energy And Enviroment : Corporative Univercity Programs GreenCUP
บันทึกข้อตกลงนี้ทำขึ้น ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2554 ระหว่าง 7 หน่วยงานในสถาบันอุดมศึกษา ได้แก่
1) สถาบันพัฒนาเศรษฐีและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
2) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
3) วิทยาลัยพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยพะเยา
4) ศูนย์วิจัยพลังงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้
5) คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
6) คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
7) คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
โดยทั้ง 7 หน่วยงานดังกล่าวข้างต้นนี้ ได้ตระหนักถึงความสำคัญและการวิจัยในด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม การแลกเปลี่ยนนักศึกษา การให้บริการทางวิชาการแก่สังคม การใช้ทรัพยากรและบุคลากรร่วมกัน ตลอดทั้งผลงานทางวิชาการของบุคลากรและบุคคลทั่วไป ดังนั้นจึงได้กำหนดขอบเขตข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการในด้านต่างๆ ดังนี้
1) ความร่วมมือในการพัฒนาหลักสูตรและใช้หลักสูตรร่วมระดับบัณฑิตและบัณฑิตศึกษาด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม
2) ความร่วมมือด้านงานวิจัยเพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรม ทั้งนี้ ผลงานที่ได้จากทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดขึ้นจะต้องพิจารณาหารือร่วมกันและมีข้อตกลงแยกเป็นรายกรณีไป
3) ความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนบุคลากรและนักศึกษา เพื่อพัฒนาศักยภาพและเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการ
4) ความร่วมมือในการให้บริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคม โดยพิจารณาหารือร่วมกันตามความเหมาะสมในแต่ละกิจกรรม
5) ความร่วมมือในการใช้ทรัพยากรและสิ่งอำนวยความสะดวกร่วมกัน ทั้งนี้ อุปกรณ์ อาคารสถานที่และค่าใช้จ่ายต่างๆในการดำเนินกิจกรรมนั้น ให้แยกเป็นรายกรณีไป
6) ความร่วมมือในการจัดตั้งวารสารวิชาการที่มีมาตรฐานตามเกณฑ์วารสารวิชาการระดับชาติ และนานาชาติ เพื่อเผยแพร่ผลงาน บทความวิชาการ หรือบทความวิจัย
7) ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมอื่นๆ ตามแต่ละหน่วยงานเห็นสมควรร่วมกัน
8) ข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการนี้ มีผลบังคับใช้เป็นเวลา 5 ปี นับแต่วันลงนาม หากหน่วยงานใดต้องการทำการยกเลิกเปลี่ยนแปลงแก้ไข หรือต่อบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ จะต้องแจ้งให้หน่วยงานอื่นทราบในเวลาอันสมควร และให้บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร
ข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการนี้ จัดทำขึ้น 7 ฉบับ มีข้อความถูกต้องตรงกัน ซึ่งหน่วยงานได้อ่านและเข้าใจข้อความโดยตลอดแล้ว จึงได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน และแต่ละหน่วยงานต่างยึดถือไว้ฝ่ายละหนึ่งฉบับ สำหรับรายละเอียดย่อยในแต่ละโครงการนั้น จะร่วมกันพิจารณาเป็นแต่ละกรณี ตามแต่ละหน่วยงานเห็นสมควรต่อไป
แสดงความคิดเห็น
loading...