Ahrefs คือหนึ่งในเครื่องมือสำหรับทำ SEO ที่เป็นที่นิยมที่สุด

รีวิวพร้อมวิธีใช้ จากคนใช้จริงทุกวัน

ไปทำความรู้จักกัน!
...

Ahrefs

Ahrefs คือหนึ่งในเครื่องมือสำหรับทำ SEO ที่เป็นที่นิยมที่สุด มีฟีเจอร์มากมายเพื่อช่วยให้เราวางแผน ติดตามผล และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทำ SEO เพื่อให้เราติดอันดับบน Google ได้ ไม่ว่าจะเป็น Backlink Checker, toolbar, keyword research, competitors analysis ไปจนถึงการทำ site audits

โดยจะขอแบ่ง Ahrefs ออกเป็น 5 ฟีเจอร์หลักๆ ดังนี้

  • 1. Site Explorer (วิเคราะห์เว็บไซต์)
  • 2. Keyword Explorer (วิเคราะห์คีย์เวิร์ด)
  • 3. Site Audit (ตรวจสุขภาพเว็บไซต์)
  • 4. Rank Tracker (ติดตามการจัดอันดับ)
  • 5. Content Explorer (วิเคราะห์และออกแบบเนื้อหา)

วิธีใช้ Ahrefs Free Tools

ด้วยกลยุทธ์แล้ว ทาง Ahrefs ทำเครื่องมือฟรีไว้หลายตัวเลยค่ะ โดยหวังว่าคนใช้แล้วชอบก็จะมาสมัคร โดยเราสามารถใช้เครื่องมือฟรีทำได้หลายอย่างเลย เช่น เช็ก Backlink เบื้องต้นได้ มาดูเครื่องมือ Ahrefs ฟรีกัน

Ahrefs Backlink Checker

ตัว Ahrefs Backlink Checker ช่วยให้เราสามารถเช็ค Backlink ของเว็บไซต์เราได้แบบฟรีๆ ค่ะ ใช้งานง่ายๆ แค่เข้าไปที่ลิงก์ ​Ahrefs Backlink Checker จากนั้นใส่เว็บของเราลงไป แล้วก็กด Check backlinks ค่ะ ตรงนี้จะมีตัวเลือกสองอย่างคือ
  • Exact URL จะเช็กแค่ของหน้านั้นๆ เช่นถ้าเราใส่บล็อกลงไป มันก็จะดูแค่ว่ามีใครลิงก์มาที่บล็อกนั้นตรงๆ
  • Subdomains จะเช็คทั้งเว็บของเราเลย รวมทุกหน้า และรวมทุกSubdomain เช่น www./m. (แนะนำให้เลือกอันนี้ จะได้เช็คทั้งเว็บทีเดียวเลยค่ะ)
... การอ่านข้อมูลบน Ahrefs Backlink Checker พอเช็กข้อมูลเสร็จแล้ว เราจะเห็นหน้าต่างนี้ขึ้นมาค่ะ ซึ่งมีข้อมูลดังนี้
  • Domain Rating ตัวนี้จะบอกคะแนนของโดเมนเว็บของเรา ว่าแข็งแรงน่าเชื่อถือแค่ไหนเมื่อเทียบกับเว็บอื่นๆ โดยดูจาก Backlink เป็นหลักค่ะ ยิ่งคะแนนเยอะ ก็จะมีโอกาสติดอันดับ SEO ได้ง่ายขึ้น
  • Backlinks จำนวน Backlinks ทั้งหมดที่มี
  • Referring Domain จำนวนเว็บที่ลิงก์มาหาเรา เช่น ถ้าเว็บนึงลิงก์มาหาเรา 10 รอบ เราก็จะได้ 10 backlinks 1 referring domain ค่ะ
  • Top 100 backlinks คือจำนวน Backlinks ที่เรามี 100 อันดับแรก เรียงตาม UR หรือ URL Rating
  • Top 5 anchors คือ “คำ” ที่คนส่วนใหญ่ใช้ลิงก์มาเยอะที่สุดค่ะ ส่วนใหญ่ก็จะลิงก์จากชื่อแบรนด์ บริษัท หรือบุคคลมา
  • Top 5 pages คือหน้าบนเว็บเราที่มีคนลิงก์มาเยอะที่สุดค่ะ
...

ข้อมูลจาก Ahrefs Backlink Checker ใช้ทำอะไรได้บ้าง?

อันนี้ใช้ทำอะไรได้หลายอย่างเลยค่ะ เช่น
  • ดูหน้าที่คนลิงก์มาเยอะที่สุด แล้วจัด Internal Link ใหม่ เผื่อส่งค่าพลังจากลิงก์ที่ได้มา ไปหน้าอื่นๆ
  • ติดต่อเว็บที่ลิงก์มาหาเราบ่อยๆ แล้วทำโปรร่วมกัน
  • ติดต่อเว็บที่เคยลิงก์มาหาเรา แล้วทักไปเมื่อมีบทความใหม่ที่เค้าจะลิงก์มาได้

Ahrefs Broken Link Checker

Broken Link Checker เข้ามาเพื่อช่วยให้เราเช็กได้ว่า บนเว็บของเรานั้นมีลิงก์ไหนที่พังบ้าง ซึ่งเป็นปกติของการทำเว็บเลยค่ะ สมมติเราเคยลิงก์อ้างอิงไปที่หน้าเว็บงานวิจัยแห่งนึง แล้ววันนึงเว็บนั้นปิดไป คนนั้นมีการเปลี่ยน URL หรือหน้านั้นหายไป ลิงก์ที่เราเคยลิงก์จากบนเว็บเราไปก็จะพัง คนเข้ามากดแล้วก็ไปหน้า 404 ไม่ได้เป็นตัวที่เราจะลิงก์จริงๆ ซึ่งเราควรเข้ามาจัดการหน้าเว็บพวกนี้บ้าง สักเดือนละครั้งค่ะ
...

ข้อมูลจาก Ahrefs Broken Link Checker ใช้ทำอะไรได้บ้าง?

นอกจากการแก้ลิงก์ที่เสียบนเว็บตัวเองแล้ว ตัวนี้ยังมี Inbound links ที่พังอีกด้วย ไว้เช็กสำหรับเวลาที่คนอื่นลิงก์มาหาเรา แต่หน้านั้นเราลบไปแล้ว หรือเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นค่ะ ไหนๆ ได้ Backlink แล้วเราก็ไม่อยากให้มันสูญเปล่า ถ้าเห็นแบบนี้เราก็สามารถทักไปที่เว็บนั้นๆ เพื่อให้เค้าอัปเดตลิงก์มาเว็บของเราเป็นลิงก์ที่ถูกได้ค่ะ

Ahrefs Keyword Generator

Ahrefs Keyword Generator นี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อช่วยให้เราหาไอเดียคีย์เวิร์ดได้ค่ะ โดยมันจะเอาคีย์เวิร์ดที่เราใส่ลงไป ไปหาคำอื่นที่มีการเสิร์ชแล้วมี Phase Match หรือมีคำของเราอยู่ในนั้น ใช้ง่ายๆ แค่เข้าไปที่ ​https://ahrefs.com/keyword-generator แล้วใส่คำที่ต้องการลงไป เลือกประเทศไทย (ถ้าจะหาประเทศไหนก็เลือกประเทศนั้นนะคะ) แล้วกด Find keywords ได้เลยค่ะ

อย่างข้างล่างจะเห็นว่าเมลองพิมพ์ น้ำหยดลงหิน อยากรู้ว่าทุกวันหินจะเดินหนีหรือเปล่า (ผ่าม) แต่ว่าคนส่วนใหญ่เสิร์ชว่าหินยังมันยังกร่อนแหละ
...

การอ่านข้อมูลบน Ahrefs Keyword Generator

  • Phase Match คือคำค้นหา ที่มีคำของเราอยู่ในนั้นค่ะ
  • Questions คือคำถามที่คนหาเกี่ยวกับคำนั้นๆ เช่น น้ำหยดลงหิน ทุกวันหินทำยังไง?​ ตัวนี้ใช้กับภาษาอังกฤษจะได้ผลดีกว่าไทยค่ะ เพราะภาษาไทยทีแยกไม่ออกว่าคำถามหรือพิมพ์เฉยๆ
  • KD ย่อมาจาก Keyword Difficulty ค่ะ เป็นการบอกว่าคำนี้ติดหน้าแรกยากมั้ย โดยให้คะแนนจาก 0-100 และตัวนี้ดูจาก Backlinks อย่างเดียวค่ะ ถ้าคู่แข่งที่ติดหน้าแรกอยู่มี Backlinks เยอะ อันนี้จะสูงค่ะ
  • Volume จำนวนการค้นหาในแต่ละเดือน
  • Updated ครั้งสุดท้ายที่มีการอัปเดตข้อมูลเกี่ยวกับคำนี้ค่ะ

ข้อมูลจาก Ahrefs Keyword Generator ใช้ทำอะไรได้บ้าง?

ใช้ได้หลายอย่างเช่นค่ะ เช่น

  • หาไอเดียให้บทความเราสมบูรณ์​จะได้รู้ว่าคนเสิร์ชเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ว่าอะไรบ้าง ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ทำได้มีอีกเยอะเหมือนกันค่ะ อย่าง Google Trends หรือ Answer the Public
  • ดูว่าคำที่เรากำลังจะทาเก็ต มีคนค้นหาเยอะหรือเปล่า แต่แข่งยากมั้ย ถ้าเว็บเพิ่งเปิดใหม่ ก็เลือก KD น้อยๆ มาทำก่อน ก็ได้มีโอกาสติดอันดับได้ไม่ต้องรอนานค่ะ


Ahrefs YouTube Keyword Tool


ตัวนี้จะคล้ายกับ Keyword Generator แต่ เราเอาไว้ดูว่า คนบน YouTube เค้าเสิร์ชอะไรกัน ซึ่งอาจจะต่างกับ Google ปกติค่ะ โดยเราพิมพ์คำตั้งต้นลงไป มันก็จะขึ้นคำที่ใกล้เคียงมา พร้อมด้วยปริมาณการค้นหาต่อเดือน ให้เรามีไอเดียในการทำคอนเทนต์ต่อได้ค่ะ ลองใช้ได้ที่นี่เลย https://ahrefs.com/youtube-keyword-tool ...

SERP Checker


เจ้าตัว SERP Checker จะช่วยเช็กว่า สำหรับคำนั้นๆ แล้ว คู่แข่งของเราเป็นยังไงบ้าง โดยตัวฟรีจะโชว์แค่ 3 อันดับแรกค่ะ ไปที่ https://ahrefs.com/serp-checker ใส่คำที่ต้องการ เลือกประเทศ แล้วก็กดเช็กได้เลยค่ะ ...

การอ่านข้อมูลบน SERP Checker


ตัวนี้จะมีบอกข้อมูลตามนี้ค่ะ
  • AR มาจาก Ahrefs Ranking เป็นการจัดอันดับเว็บของ Ahrefs เอง อันนี้ไม่ต้องสนใจมากก็ได้ค่ะ
  • DR = Domain Rating คือคะแนนของโดเมนโดยดูจาก Backlink ค่ะ
  • UR = URL Ratingคือคะแนนของ URL นั้นๆ โดยดูจาก Backlink ค่ะ
  • Backlinks คือจำนวน Backlinks ของหน้านั้นๆ
  • Domains คือจำนวนโดเมนที่ติดใน SERPs นี้ ไม่ต้องสนใจมากค่ะ
  • Traffic จำนวนคนเข้าหน้านั้นโดยประมาณ รวมทุกคำเลย
  • Keywords คือบอกเราว่าหน้านั้นติดอันดับด้วยคำอะไรบ้าง จะเห็นว่าแต่ละหน้า ก็จะติดอันดับหลายคำ เป็นเรื่องปกติค่ะ

ข้อมูลจาก SERP Checker ใช้ทำอะไรได้บ้าง?


  • ดูว่าคู่แข่งเรา DR เป็นยังไง เราจะแข่งได้ไหม
  • ดูว่าถ้าติดอันดับแรกของคำนี้ เราน่าจะได้ Traffic ประมาณไหน

Keyword Difficulty Checker


Keyword Difficulty Checker จะคล้ายกับ SERP Checker ค่ะ คือบอกว่าคำที่เราจะทาเก็ตนั้นอยากหรือเปล่า โดยจะแสดง KD หรือ Keyword Difficulty โดยดูจาก Backlink เป็นหลัก ถ้าเราอยากติดคำนี้ จะต้องมี Backlink ไปที่หน้านั้นๆ กี่ลิงก์ แล้วก็จะโชว์คู่แข่ง 3 อันดับแรกค่ะ โดยเราสามารถดู DR ได้ว่าถ้าคู่แข่งเรา DR เยอะมากๆ ก็อาจจะแข่งยากหน่อย แล้วก็จะพอได้ไอเดียว่า Traffic ของเว็บคู่แข่งที่ติด 3 อันดับแรกจะมีคนเข้าเว็บเท่าไหร่ค่ะ ...

Ahrefs SEO Toolbar


ตัว Ahrefs SEO Toolbar จะเป็น Extension ที่เราสามารถติดไว้บน Chrome หรือ Firefox ได้ค่ะ เรียกว่าเป็นตัวที่เมใช้บ่อยมากๆ แทบจะตลอดเวลา ช่วยให้เราหาข้อมูลของคำ และคู่แข่งได้แบบรวดเร็วในหน้า SERPs ของ Google โดยไม่ต้องออกไปไหนเลยค่ะ โดยข้อมูลที่มีบอกคือ

  • ข้อมูลเกี่ยวกับคีย์เวิร์ด และ on-page seo ต่างๆ
  • ข้อมูลเกี่ยวกับการ Redirect
  • ลิงก์บนเว็บไซต์ที่พัง (Broken link)
  • ข้อมูลเกี่ยวกับลิงก์​โดยมีการ Highlight ให้เลยว่า ลิงก์ไหนเป็น Internal และ External
  • ข้อมูลเกี่ยวกับอันดับของเว็บไซต์ค่ะ
  • ข้อมูลเกี่ยวกับการ Redirect

สำหรับตัวนี้ ถ้าเราจ่ายเงินเป็นสมาชิกให้กับ Ahrefs อยู่ ก็จะได้ข้อมูลต่างๆ เพิ่มเติม เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับทุกเว็บไซต์ที่เราเข้าชม แล้วก็ข้อมูลของคีย์เวิร์ด เช่น จำนวนการเสิร์ช หรือความโหดในการแข่งขันค่ะ

ตัวอย่างบางฟีเจอร์ที่น่าใช้บน Ahrefs

จะเห็นได้ว่าฟีเจอร์บน Ahrefs คือเยอะมากกกก วันนี้จะมาลองดูตัวอย่างฟีเจอร์ที่น่าสนใจบน Ahrefs กันค่ะ

Organic Keywords 2.0


ตัวนี้จะบอกเราได้เลยว่าเว็บไซต์ที่เราใส่ลงไปมีติดอันดับคำไหนอยู่บ้าง จะเป็นเว็บของเราหรือคู่แข่งก็ได้ค่ะ โดยจะเรียงลำดับจากคำทีสร้างคนเข้าเว็บให้ได้เยอะที่สุดแล้วไล่ลงมา โดยบอกอันดับ, URL ที่ติด, จำนวนการค้นหาของคำนั้นๆ, ความยาก และที่สำคัญคือสามารถเลือกดูการเปลี่ยนแปลงได้ค่ะ เช่น อย่างในภาพ เมกดดูข้อมูลของเว็บ The Standard เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2021 โดยเลือกเทียบกับเดือนก่อน หรือ 30 ธันวาคม 2020 จะเห็นได้ว่าคีย์เวิร์ด The Standard เองมีคนเข้าน้อยลง ~400 ครั้ง แต่คำว่าหุ้นมีคนเข้าเยอะขึ้น 16K ครั้งเลยค่ะ

ตัวนี้ก็จะช่วยให้เราเข้าใจภาพของตลาดมากขึ้น ว่าคู่แข่งหรือผู้นำตลาดเค้ามีคนเข้าเว็บจากคำประมาณไหน ช่วยให้เรามีไอเดียในการสร้างคอนเทนท์มาแข่งได้มากขึ้นค่ะ ตัวนี้เป็นฟีเจอร์ใหม่ล่าสุดจาก Ahrefs เลย ใครอยากใช้ให้ไปที่ Site Explorer แล้วมองหาคำว่า Organic Keywords 2.0 ทางซ้ายมือนะคะ

...

Content Gap


ตัวนี้เป็นวิธีหาไอเดียง่ายๆ เลยค่ะ แค่เราใส่ลิงก์ของเว็บเรา กับคู่แข่งลงไป มันก็จะขึ้นมาเลยว่า มีคำไหนบ้างนะที่คู่แข่งติดอันดับ แล้วเรายังไม่ติด แถมยังบอกอีกด้วยว่าคำนั้นๆ คู่แข่งอยู่อันดับที่เท่าไหร่ จากภาพด้านล่างเมลองเทียบ The Standard กับ เว็บไทยรัฐค่ะ จะเห็นว่าไทยรัฐมีคนเข้าจากการตรวจหวยเยอะมาก แต่อาจจะไม่ตรงกับกลุ่ม The Standard เลยยังไม่มีคอนเทนท์เรื่องนี้ค่ะ ตัวนี้จะอยู่ใน Site Explorer > Content Gap ...

Having the Same Search Term


บางทีเรามีคำตั้งต้นแล้ว แต่นึกไม่ออกว่าจะเขียนอะไร หรือว่ากำลังเขียนบทความแล้วกำลังอยากหา Secondary Keywords มาเติมให้คอนเทนต์ลึกและเต็มขึ้น เราก็เข้ามาดูได้ใน Keywords Explorer > Having the Same Search Term ได้เลยค่ะ

โดยเราจะได้เห็นข้อมูลเกี่ยวกับคำนั้นๆ ว่ามีคำค้นหาไหนบ้างที่มีคำที่เราอยากได้ โดยมีแบ่งเป็นกลุ่มให้ด้วย จะเห็นว่าเมลองพิมพ์คำว่าสุนัขลงไป กลุ่มคำที่คนค้นหาเยอะที่สุดจะเป็นเรื่อง “พันธุ์” และ “อาหาร” ส่วนขวามือก็จะมีรายละเอียดของคำทั้งหมด รวมถึงปริมาณการค้นหา ความยาก และคำที่ใกล้เคียงกันแต่คนอาจจะเสิร์ชเยอะกว่า เช่น สุนัข จะอยู่ใต้หัวข้อ หมา เป็นต้นค่ะ ...

Ahrefs Pricing


ฟีเจอร์ที่ยังไม่ได้พูดถึงคือมีอีกเยอะมากกกกกกเลยค่ะ ถ้าใครอยากรู้ฟีเจอร์อะไรคอมเมนท์ไว้ได้นะคะ ส่วนตัวราคา ณ ตอนนี้อยู่ที่ต่ำสุด 99 USD หรือประมาณสามพันนิดๆ ค่ะ เมใช้ตัวนี้อยู่ก็ไม่เคยมีปัญหา แต่ถ้าเว็บใหญ่ๆ อาจจะต้องปรับขึ้นมา เพราะมันจะมีจำกัดการค้นหาอยู่ค่ะ ...

นอกจาก Ahrefs แล้ว มีเครื่องมืออะไรอีกบ้างที่น่าสนใจ?



เครื่องมือที่ใช้ทำ SEO มีเยอะมากๆ เลยค่ะ เช่น


  • SEMRush: จะคล้ายกัน คือทำได้หลายอย่าง
  • Google Search Console: ติดตามข้อมูลเว็บตัวเองได้ฟรี
  • Moz:คล้ายกับ Ahrefs
  • Answer the Public: ไว้ใช้ทำ Keyword Ideas Research ได้ค่ะ

สรุปว่า ใช้ Ahrefs ดีไหม?

โดยส่วนตัวแล้ว Ahrefs ถือว่าเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ดีที่สุดในการทำ SEO เลยค่ะ เรียกได้ว่าครบเครื่อง ในราคาที่พอรับได้ ใช้ง่าย และมีอัปเดตเรื่อยๆ ทีม Support ก็ติดต่อได้ง่าย

ที่มา: https://chalakornberg.com